ในปีพุทธศักราช 2548 นับเป็นก้าวใหม่ของการเดินทางสู่จุดหมายตามแนวทางที่อาจารย์ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ได้ทำเป็นตัวอย่างไว้ โดยทางโรงเรียนเทคโนโลยีสยามได้จัดตั้งโครงการ “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม” ขึ้น เพื่อสานต่อปณิธานของ อาจารย์ดร.ณรงค์ มงคลวนิช และสานต่อความต้องการของสังคมในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและวุฒิภาวะที่สูงขึ้น โดยให้บริการการศึกษาที่ผสมผสานความรู้ด้านทฤษฏีควบคู่ทักษะ โดยเน้นวัดผลจากการปฏิบัติงานได้จริงตามสภาพปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วซึ่ง “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม” ได้เปิดดำเนินการในปีการศึกษา 2549 ในเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา ซึ่งมีพื้นที่ติดกับ “โรงเรียน เทคโนโลยีสยาม” โดยแยกพื้นที่ทั้งสองสถาบันอย่างเป็นสัดส่วน การจัดการศึกษาในปีการศึกษาแรกของ “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม” เน้นถึงการศึกษาที่ต่อเนื่องสำหรับผู้จบการศึกษาจากทางโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม โดยเปิดหลักสูตรปริญญาตรีทางด้านเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจที่รองรับทุกหลักสูตร ที่เปิดสอนในโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม แล้วจึงขยายสาขาวิชาเพิ่มเติม ที่เป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย โดยมุ่งเน้นจัดการศึกษาให้มีความต่อเนื่องและเท่าเทียมกันไม่ว่านักศึกษาจะมาจากสถาบันการศึกษารูปแบบใด และระดับใด
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม มีเป้าหมายที่จะเปิดบริการทางการศึกษาในสาขาวิชาที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม และเป็นการเชื่อมต่อโลกแห่งการศึกษาและโลกแห่งงานที่แท้จริงเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายยิ่งขึ้นของสังคม ตามเจตนารมณ์ของ อาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ที่ได้สร้างมาตรฐานความเป็นผู้นำในการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษา เพื่อประโยชน์ที่แท้จริงต่อสังคมมิใช่ผู้ตามเพียงกระแสนิยม วิสัยทัศน์และพันธกิจ ของวิทยาลัย
ค่านิยมหลักของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ใช้คำย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “I-ROAR” หมายถึง ฉัน – คำราม ซึ่งแสดงถึงการเอาชนะความท้าทาย หรือความสามารถในการปฏิบัติได้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายโดยคำว่า “I-ROAR” ย่อมาจากคำต่างๆ และมีความหมาย ดังนี้
วิทยาลัยเทคโนโลยีเทคโนโลยีสยาม ตั้งอยู่เลขที่ 46 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 มีเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา ซึ่งมีสภาพแวดล้อมดี มีการคมนาคมที่สะดวก มีรถประจำทางผ่านหลายสาย ทั้งรถประจำทางธรรมดาและรถปรับอากาศ เช่น
ผ่านหน้าวิทยาลัย ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางมาเป็นอย่างมาก
ด้านอาคารสถานที่
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามมีความพร้อมด้านอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการทีมีอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยดังนี้
· อาคารอำนวยการ (อาคาร 9)
· อาคารปฏิบัติการ (อาคาร 2)
· อาคารนิทรรศการ (อาคาร 3)
· อาคารปฏิบัติการ (อาคาร 4)
· อาคารปฏิบัติการ (อาคาร 5)
· อาคารโรงอาหาร (อาคาร 6)
· อาคารคณะเทคโนโลยี (อาคาร 7)
· อาคารเอนกประสงค์ (อาคาร 8)
สำหรับอาคารอำนวยการ (อาคาร 9) นั้นเป็นอาคารหลักสูง 12 ชั้น และมีชั้นใต้ดินเป็นที่จอดรถในพื้นที่อาคารชั้น 1- 12 นั้นนอกจากจะเป็นห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องทำงานผู้บริหาร คณาจารย์ และสำนักงานแล้ว ยังมีห้องประชุมขนาดใหญ่ กลาง และเล็กอีกหลายห้อง รวมทั้งสำนักหอสมุดเพื่อเป็นศูนย์วิทยาบริการให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ส่วนอาคารอื่นๆ นั้นเป็นอาคารเรียนอาคารปฏิบัติการ อาคารกิจกรรม ศูยน์เทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับนักศึกษาคณะต่างๆโดยเฉพาะ ทำให้ง่ายต่อการบริหารและอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา
น้ำเงิน (ปัญญาความรู้)
ความสงบ ความเงียบ ความมั่นคง ความศรัทธา ความมีระเบียบ ความจริง ความสุขุม ความเชื่อถือ ความจงรักภักดี ความเยือกเย็น ความราบรื่น ความเป็นเอกภาพ ความเป็นอนุรักษ์นิยม แรงบันดาลใจ
เหลือง (สุขภาพและความสมดุล)
ความรื่นเริงเบิกบานใจ ความสุข ความสดใสร่าเริง พลัง อนาคต การมองโลกในแง่ดี อุดมคติ จินตนาการ ความหวัง แสงสว่าง ฤดูร้อน ปัญญา ปรัชญา ความคิดสร้างสรรค์
จากความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ของประเทศไทย แต่ยังมีความขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้คู่ทักษะที่พร้อมสำหรับการขับเคลื่อนประเทศของเราสู่เส้นทางที่มุ่งหวังของ อาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ถือเป็นบุคคลตัวอย่าง ที่มีความมุ่งมั่นที่รับผิดชอบต่อความต้องการของสังคมโดยเล็งเห็นความขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพทางทักษะอุตสาหกรรม จึงได้สร้างสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนที่ให้บริการความรู้ ทางด้านช่างอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทยเมื่อ ปีพุทธศักราช 2508 โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนช่างกลสยาม” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ อันกว้างไกลและปณิธานอันแน่วแน่ที่จะเดินไปสู่จุดมุ่งหมายจากหลายทศวรรษที่ผ่านมาแล้วนั้น “โรงเรียนช่างกลสยาม” ได้เปลี่ยนเป็น โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม” โดยเพิ่มสาขาวิชาด้านพาณิชยกรรมและได้ยืนหยัดอยู่ในระดับแนวหน้าของกลุ่มโรงเรียนอาชีวะศึกษาที่มีคุณภาพของประเทศจากวันแรกถึงวันนี้ความเจริญก้าวหน้าของสถาบัน ดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ถึงความก้าวหน้าและความมุ่งมั่นที่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมและเยาวชนไทย อย่างผู้นำมิใช่ผู้ตามโดยแท้จริง